วิจัยการศึกษาของนักศึกษาสัตวแพทย์

Total Page Visits: 295

วิจัยเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนด้านสัตวแพทย์

             ที่วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นั้นเราไม่ได้มุ่งเน้นแค่วิจัยแต่เรื่องวิชาการในสัตว์เท่านั้น เรายังเห็นความสำคัญด้านการวิจัยการศึกษาของนักศึกษาสัตวแพทย์ เพื่อนำมาปรุงหลักสูตรและการเรียนการสอน ให้ทันสมัยกับความต้องการของสังคม และความต้องการของนักศึกษารี

             กระตุ้นการเรียนรู้ สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาของการศึกษาของประเทศไทยคือ ผู้สอนไม่สามารถหรือไม่กระตุ้นนักเรียนนักศึกษามีการอยากเรียนรู้และค้นหาด้วยตนเอง เมื่อเกิดการสอนแบบนี้เป็นเวลานานก็จะทำให้นักศึกษาไม่สนใจหาความรู้ด้วยตัวเอง รอแต่อาจารย์มาบอก การสอนที่ดีนั้น ต้องไม่เป็นการป้อนความรู้ คือไม่ให้เนื้อหาแก่นักศึกษามากไป หากแต่ต้องสอนเป็นแกนหลักที่สำคัญ สอนสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ในอนาคตแนะแนวให้เด็กค้นหาความรู้ด้วยตัวเอง และฝึกให้นักศึกษามีความคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุและผล

             ความเครียดในการเรียน จากการศึกษาวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า สัตวแพทย์นั้นถือเป็นวิชาชีพที่เกิดความเครียดในระหว่างเรียนและการทำงานสูง โดยในต่างประเทศนั้นวิชาชีพสัตวแพทย์มีสัดส่วนการฆ่าตัวตายสูง ดังนั้น โรงเรียนสัตวแพทย์สมัยใหม่จะต้องคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรถึงจะลดความเครียดในระหว่างการสอนแต่ในขณะเดียวกันยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการเรียนการสอน

             ความเข้าใจในนักศึกษา นักศึกษาในปัจจุบัน คือ คนรุ่นใหม่ที่มีความแตกต่าง ทางอายุและ ทางด้านความคิดกับอาจารย์หลายคน ความทันสมัยและก้าวทันเทคโนโลยีปัญหาหนึ่งที่สำคัญของอาจารย์ผู้สอนคือ การไม่ยอมปรับตัวให้เข้าใจนักศึกษา การไม่ยอมปรับวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะกับนักศึกษารุ่นใหม่ ทำให้การเรียนการสอนไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด 

             การแก้ปัญหาเหล่านี้สามารถทำได้โดยการการวิจัยด้านการศึกษาและการเรียนการสอน ผศ.น.สพ.ดร.เติมพงศ์ วงศ์ตะวัน อาจารย์ประจำวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี เป็นผู้มีประสบการณ์ได้ทำการศึกษาวิจัยการเรียนการสอนมาเป็นเวลาหลายปี อาจารย์เติมพงศ์ พบว่า การสอบท้ายคาบ สอบระหว่างคาบ และการสอบแบบใช้ความจำมาก เป็นการเพิ่มความเครียดแก่นักศึกษาโดยไม่จำเป็นถึงแม้จะเป็นข้อสอบที่ง่ายก็ตาม นักศึกษาที่เครียดมากจะเป็นนักศึกษาทีมีผลการเรียนที่ดีกว่านักศึกษาที่กลุ่มที่ไม่ค่อยเครียด อาจารย์เติมพงศ์ จึงแก้ปัญหานี้โดยการทำ แบบทดสอบออนไลน์ก่อนเข้าห้องเรียนหนึ่งวัน โดยอาจารย์จะออกข้อสอบที่ยาก เป็นเนื้อหาที่นักเรียนไม่เคยเรียน แต่สามารถหาคำตอบทางอินเตอร์เน็ตได้ ผลการทดลองพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ชอบวิธีการนี้ และชอบมากกว่าสอบท้ายคาบ เพราะมีความเครียดน้อยกว่า ส่งเสริมกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และทำให้มีคะแนนโดยรวมดีขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่านักศึกษามากกว่า 90% ทำแบบทดสอบนี้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ อาจารย์ยังแบบทดสอบออนไลน์ก่อนสอบ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝน มีการเพิ่ม และให้มีการสอบแบบ open-book มากขึ้น พบว่านักศึกษาก็พึงพอใจกับวิธีการเหล่านี้มาก 

             นอกจากนี้ อาจารย์เติมพงศ์ ยังมีการปรับปรุงการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยแต่เข้าถึงได้ง่าย นั่นก็คือ การใช้ แอปพลิเคชั่นต่างๆมาช่วยในการเรียนการสอน เช่น Line, Google drive, และ google education ในวิชาโครงสร้างและการทำงานของร่างกาย อาจารย์จะให้นักศึกษาถ่ายรูปตัวอย่างสัตว์ที่เรียน และเขียนคำอธิบายโครงสร้างต่างๆของร่างกายสัตว์ แล้วหลังจากนั้นนักศึกษาจะต้องอับโหลดไฟล์เหล่านั้นเข้าไปในระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้อาจารย์ตรวจสอบ เมื่ออาจารย์ตรวจสอบเสร็จก็จะบอกนักศึกษาว่าผิดถูกตรงไหน ให้แก้ไขอย่างไรอย่างรวดเร็ว ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต จากผลการวิจัยพบว่า ข้อดีของวิธีนี้คือ นักศึกษากับอาจารย์สามารถตอบโต้กันได้อย่างรวดเร็ว ลดความเครียดจากการทำรายงาน นักศึกษาสามารถนำรูปที่ได้ไปใช้เตรียมการสอบได้ และส่งผลให้มีผลการเรียนที่ดีขึ้น

             สามารถติดตามไปอ่านผลงานวิจัยของ อาจารย์เติมพงศ์ ได้ที่

  1. Classroom action research: The opinions of veterinary students toward a test after laboratory class of body structure and function course
  2. Using smartphone/tablet, cloud storage and social network group together for teaching veterinary anatomy
  3. Poster: Class room action research: Using online pre-test to motivate veterinary students
แสดงความคิดเห็น