Akkhraratchakumari Veterinary College
บรรยากาศการแข่งขัน WU English Academic Presentation Contest: One Health for One Healthy Community

บรรยากาศการแข่งขัน WU English Academic Presentation Contest: One Health for One Healthy Community

Total Page Visits: 369

ทักษะความเป็นนานาชาติ หรือ Internationalization Skills มีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อก้าวเข้าสู่โลกในศตวรรษที่ 21 ภาษาอังกฤษจึงมีบทบาทสาคัญเป็นอย่างยิ่งในฐานะภาษาสากล (English as Global Language) ที่นิยมใช้ติดต่อสื่อสารกันในสังคมโลกและนับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเข้าถึงผู้คนบนโลกได้ นิสิต/นักศึกษาสหสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพจึงต้องฝึกฝนและเพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านการฟัง (listening skill) ทักษะด้านการพูด(speaking skill) ทักษะด้านการอ่าน (reading skill) และทักษะด้านการเขียน (writing skill) เพื่อที่จะก้าวไปสู่วิชาชีพอย่างมีความเป็นมืออาชีพ

แนวคิด “One Health” เป็นแนวคิดที่ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน มีเป้าหมายสาคัญในการเสริมสร้างการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาของทุกภาคส่วนและทุกระดับเพื่อนาไปสู่การมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม แนวคิด “One Health” จึงเป็นแนวคิดช่วยให้นิสิต/นักศึกษาสหสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพบูรณาการเข้าถึงความรู้และทักษะทางวิชาการและสื่อสารให้สังคมร่วมมือกันสู่การมีสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม

One Health เป็นแนวทางการทำงานร่วมกัน แบบหลายมิติ และแบบสหวิทยาการ โดยมีเป้าหมายหลักในการบรรลุผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีที่สุด One Healthทำให้ทราบว่าสุขภาพของคน สัตว์ และสภาพแวดล้อม ที่ใช้ร่วมกันของเรานั้นเชื่อมโยงถึงกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา One Health มีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อมของเรา ดังนี้

  • ป้องกันการระบาดของโรคจากสัตว์สู่คนในสัตว์และคน
  • ปรับปรุงความปลอดภัยและความมั่นคงด้านอาหาร
  • ลดการติดเชื้อที่ดื้อยาปฏิชีวนะ
  • ปรับปรุงสุขภาพของมนุษย์และสัตว์
  • ปรับปรุงสภาพสาธารณสุขทั่วโลก

ดังนั้น เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นให้นิสิต/นักศึกษาสหสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศได้ฝึกฝน เพิ่มพูนความรู้และทักษะทางวิชาการและทักษะทางภาษาอังกฤษ จึงได้จัดทาโครงการ English Academic Presentation Contest นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างคณะ/สานักวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

วัตถุประสงค์

  1. 1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางวิชาการด้านสุขภาพหนึ่งเดียวให้กับนิสิต/นักศึกษา
  2. 2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะทางภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ฟัง พูด อ่าน เขียน
  3. 3. เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างคณะ/สานักวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
  4. 4. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันของนิสิต/นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา

โดยในวันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา ทางวิทยาลัยของเราได้จัดการแข่งขัน WU English Academic Presentation Contest: One Health for One Healthy Community ผ่านทาง Zoom เพื่อเป็นเวทีให้นิสิต/นักศึกษา ในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้นำเสนอความรู้ทางวิชาการ ภายใต้แนวคิด ‘สุขภาพหนึ่งเดียว’

 แผนการดำเนินงาน

  • จัดทำโครงการและจัดตั้งคณะทำงาน
  • ประชาสัมพันธ์ไปยังคณะ/สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ
  • คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศส่งทีมนิสิต/นักศึกษาพร้อมบทคัดย่อภาษาอังกฤษไม่เกิน 200 คำโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  • นิสิต/นักศึกษาจัดตั้งทีมทีมละ 3 คน
  • ทีมนิสิต/นักศึกษาสามารถคละคณะได้
  • ใช้เวลาคัดเลือกบทคัดย่อ 1 สัปดาห์
  • คัดเลือกทีมนิสิต/นักศึกษาจากรอบคัดเลือกเข้ารอบสุดท้าย 10 ทีม
  • ให้ทีมนิสิต/นักศึกษาเตรียมการนำเสนอในรูปแบบของ power point presentation เวลาในการนำเสนอ 10 นาที
  • จัดการแข่งขันรอบสุดท้ายผ่านโปรแกรม ZOOM meeting โดยให้แต่ละทีมมีเวลานำเสนอ 10 นาที และเวลาตอบคำถามหลังจากการนำเสนอ 5 นาที จำนวน 10 ทีม
  • ประกาศรางวัลให้ทีมที่เข้าแข่งขัน ซึ่งมีผู้ได้รับรางวัลดังต่อไปนี้
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมหมีคั่วโลก จาก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม The Beetle จาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม One Health One Jai จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ทีม NPT จาก วิทยาลัยสัตวแพทยศาสร์อัครราชกุมารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ AVC Blossoms จาก วิทยาลัยสัตวแพทยศาสร์อัครราชกุมารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • รางวัลผู้นำเสนอยอดเยี่ยม ได้แก่ Nogah Pfeifer จาก วิทยาลัยสัตวแพทยศาสร์อัครราชกุมารี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ นายณัฐชชนนท์ อิ่มด้วง จาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผลกระทบของโครงการ
แสดงความคิดเห็น