Akkhraratchakumari Veterinary College

ปัญหาแบคทีเรียดื้อยาในสัตว์กีฬาในภาคใต้

      ปัญหาเชื้อจุลชีพดื้อยานั้นเป็นปัญหาระดับโลก และต้องการหลายฝ่ายเข้ามาร่วมกันช่วยแก้ปัญหา ปัจจุบันสถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพในโลกและในประเทศไทยนั้น พบว่ามีอุบัติการณ์พบเชื้อจุลชีพดื้อยาเพิ่มมากขึ้น ทําให้การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อจุลชีพดื้อยาทําได้ยากขึ้น เกิดค่าใช้จ่ายสูง เกิดพิษและผลข้างเคียงจากยามากขึ้น และก่อให้เกิดการเสียชีวิตได้ โดยที่การค้นคว้าวิจัยยาปฏิชีวนะตัวใหม่เพื่อแก้ปัญหาเชื้อจุลชีพดื้อยานั้นไม่เพียงพอ และไม่ทันต่อความต้องการ การศึกษาการดื้อยาต่านจุลชีพในสัตว์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเน้นในสัตว์ปศุสัตว์ ซึ่งมักจะใช้ยาต้านจุลชีพชนิดที่ต่างจากในคน ทำให้ไม่ค่อยส่งผลเสียต่อการดื้อยาของจุลชีพที่ก่อโรคในคน ในขณะที่สัตว์ที่ใช้ในการกีฬาไม่ค่อยมีการศึกษาวิจัยการดื้อยาจุลชีพ โดยเฉพาะไก่ชนและวัวชนซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความใกล้ชิดกับคนเป็นสัตว์ที่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเรื่องเชื้อจุลชีพดื้อยา  

       ในภาคใต้มีการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อการกีฬา เช่น ไก่ชน วัวชน และม้า อยู่เป็นจํานวนมาก สัตว์เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเกิดการเจ็บป่วยและได้รับการรักษาพยาบาลโดยการใช้ยาต้านจุลชีพมากกว่าสัตว์เลี้ยงทั่วไปและสัตว์ปศุสัตว์ สัตว์ในการกีฬาเหล่านี้ถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีราคาแพง     ดังนั้นเจ้าของสัตว์พร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อใช้ยาราคาแพงมาใช้ในการรักษา ซึ่งบ่อยครั้งจะมีการใช้ยาต้านเชื้อจุลชีพระดับสูงที่มีใช้กันอยู่ในคน เมื่อมีการใช้ยาต้านจุลชีพมากเกินกว่าเหตุก็จะส่งผลให้เกิดการดื้อยาของเชื้อจุลชีพมากขึ้นโดยฉพาะจุลชีพที่ก่อโรคได้ในสัตว์ (เชื้อดื้อยา) และอาจจะส่งผลร้ายมากขึ้นไปอีกเมื่อเชื้อจุลชีพดื้อยานี้ไปก่อให้เกิดโรคในคน โดยเฉพาะคนที่ใกล้ชิดกับสัตว์ 

จากการศึกษาทดลองของวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี

         พบการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย  Staphylococci และ E. coli ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่สามารถก่อโรคในคนได้ สำหรับเชื้อ Staphylococci พบหกชนิดดังต่อไปนี้  S. sciuri (61%), S. pasteuri (15%), S. cohnii (10%), S. aureus (7%), S. warneri (5%), และ S. haemolyticus (2%). เชื้อ Staphylococci มีการดื้อยาค่อนข้างสูงต่อยา กลุ่ม penicillin (93%) และ cephalosporin (51%) มีการพบเชื้อดื้อยากลุ่ม Methicillin-resistant staphylococci (MRS) อยู่ที่ 56% (n = 23) โดยส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อ S. sciuri (82%) ซึ่งมักพบได้บ่อยในม้า นอกจากนี้เชื้อ MRS ส่วนใหญ่จะดื้อต่อยาหลายกลุ่ม (multidrug-resistant; MDR) (82%) สำหรับยีนดื้อยาพบว่า mecA positive MRS ทั้งหมดจะไม่มี mecC gene แต่พบยีน blaZ ถึง 96% โดยทั้งหมดของเชื้อไม่ทราบชนิดของ chromosome mec ที่น่าสนใจคืออัตราการดื้อยาของเชื้อในไก่ชนและวัวชนค่อนข้างต่ำกว่าในม้า ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับการที่เจ้าของไก่ชนและวัวชนมักใช้สมุนไพรรักษาโรคมากกว่าใช้ยาต้านจุลชีพ โดยสรุป การมีอยู่ของเชื้อ MRSS เป็นอันตรายต่อสุขภาพของสัตว์และเจ้าของ การทำความร่างกายสัตว์เป็นประจำ และการล้างมือหลังสัมผัสสัตว์เป็นเรื่องที่จำเป็น 

        สำหรับเชื้อ E. coli นั้นพบว่า มีการดื้อยาในยาหลายชนิด เช่น ampicillin, cephalothin, tetracycline, flumequine และ sulfamethoxazole/trimethoprim (SXT) โดยอัตราการดื้อยาจะพบสูงในไก่ชน และ ยา ampicillin ยา Flumequine พบการดื้อยาเฉพาะในไก่ชน แต่อัตราการดื้อยาค่อนข้างต่ำ 6.3% ส่วนยา SXT พบการดื้อยาในสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งในดินที่สัตว์อาศัยอยู่ โดยมีอัตราการดื้อยาอยู่ที่ประมาณ 32-33% ส่วน MDR พบมากที่ ไก่ชน นอกจากนี้ยังมีการพบ Extended-spectrum beta-lactamases (ESBL) ของเชื้อ E. coli จำนวน 1 colony ในดิน แต่ไม่พบในอุจจาระของสัตว์ สำหรับพันธุกรรมของเชื้อ พบว่า E. coli ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม B1 ซึ่งถือว่าเป็นเชื้อที่ไม่รุนแรงในการก่อโรค (non-virulent group) ส่วนเชื้อที่ก่อโรครุนแรงในกลุ่ม B2 พบมากในไก่ชน (12.5%) ส่วนเชื้อที่ก่อโรครุนแรงในกลุ่ม D พบมากในดิน (34.62%) นอกจากนี้ยังพบว่า เชื้อ E. coli ส่วนใหญ่มียีนดื้อยาอยู่หลายตัว โดยเฉพาะเชื้อที่ได้จากในไก่ชน โดยสรุปเชื้อ E. coli ดื้อยาค่อนข้างต่ำในสัตว์กีฬา โดยสัตว์ที่พบมากสุดคือ ไก่ชน และพบการดื้อยาของ E. coli ในดินไม่น้อย ทำให้เราแนะนำเจ้าของสัตว์ให้หมั่นล้างมือหากสัมผัสสัตว์และดิน

ปัญหาแบคทีเรียดื้อยาในสัตว์กีฬาในภาคใต้
ปัญหาแบคทีเรียดื้อยาในสัตว์กีฬาในภาคใต้

ผลงานตีพิมพ์

  • Wongtawan T, Narinthorn R, Sontigun N, Sansamur C, Petcharat Y, Fungwithaya P, Saengsawang P, Blackall PJ, Thomrongsuwannakij T. Characterizing the antimicrobial resistance profile of Escherichia coli found in sport animals (fighting cocks, fighting bulls, and sport horses) and soils from their environment. Vet World. 15(11):2673-2680.
  • Fungwithaya P, Boonchuay K, Narinthorn R, Sontigun N, Sansamur C, Petcharat Y, Thomrongsuwannakij T, Wongtawan T. 2022. First study on diversity and antimicrobial-resistant profile of staphylococci in sports animals of Southern Thailand. Vet World. 15(3):765-774.
  • Boonchuay K, Sontigun N, Wongtawan T, Fungwithaya P. 2023. Association of multilocus sequencing types and antimicrobial resistance profiles of methicillin-resistant Mammaliicoccus sciuri in animals in Southern Thailand. Vet World. 16(2):291-295.
แสดงความคิดเห็น