Akkhraratchakumari Veterinary College

ประชุมสัมมนา “รู้เท่าทันโรค ฝ่าวิกฤติ โรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร”

วันที่ 21 สิงหาคม 2562 โรงพยาบาลสัตว์เล็กวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี มหาวิทยาวลัยลักษณ์ร่วมกับกรมปศุสัตว์ จัดประชุมสัมมนาแนวทางการควบคุมป้องกันโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร “ รู้เท่าทันโรค ฝ่าวิกฤติ โรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร ” โดยมี นายสัตวแพทย์สุเมษ เมธศาสตร์ ปศุสัตว์เขต 8 เป็นประธานในพิธี ในงานนี้มีผู้เลี้ยงสุกรทั่วนครศรีธรรมราชจำนวน 429 คน เข้าร่วมสัมมนาอย่างคึกคัก และได้เข้าร่วมฟังสัมมนาในหัวข้อต่างๆ เช่น สถานการณ์ปัจจุบัน มาตราการและแนวทางในการควบคุมป้องกันโรคของกรมปศุสัตว์ ภาคเอกชน ,การฝ่าวิกฤต ASF งานนี้มีผู้เลี้ยงสุกรสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการประกอบกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายโสภณ พรหมแก้ว นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวรายงานว่าถึงสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกรในภูมิภาคเอเซีย ในปีที่ผ่านมา ทั้งประเทศจีนและประเทศเพื่อนบ้านของไทย ล่าสุดมีรายงานว่าเกิดโรครวม 7 ประเทศ ส่งผลให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคนี้มากยิ่งขึ้น หากมีการระบาดขึ้น และไม่มีการควบคุมป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ อาจทำให้เกิดความเสียหาย กระทบต่อเกษตรกร และผู้ประกอบการ ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคมอย่างมหาศาล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนทั้งภาคราชการ และภาคเอกชนจะร่วมมือร่วมใจกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดในหัวข้อการประชุมว่า ”รู้เท่าทัน ฝ่าวิกฤติ โรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร” ในวันนี้
นายสัตวแพทย์สุเมษ เมธศาสตร์ ปศุสัตว์เขต 8 กล่าวว่า โรคระบาดนี้ไม่เคยมีในบ้านเรามาก่อน แต่ในทวีปเอเชียระบาดหนักมาก ตั้งแต่ประเทศจีน ฮ่องกง มองโกเลีย เวียมนาม กัมพูชา ล่าสุดเข้ามาประชิดประเทศเพื่อนบ้านเราแล้ว ที่ประเทศลาวและพม่า ซึ่งเราต้องมีการเตรียมพร้อมให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร และจังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นแหล่งเลี้ยงสุกรที่มีความเสี่ยงสูงในภาคใต้ 14 จังหวัด มีการวิเคราะห์แล้วว่าจังหวัดที่มีความเสี่ยงก็คือสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง จึงจำเป็นต้องให้ความรู้แก่เกษตรกรเลี้ยงสุกรอย่างเข้มข้น ตั้งแต่ผู้เลี้ยงรายย่อย รายเล็ก และรายใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดระบาดโรคขึ้นในภาคใต้ และในจังหวัดนครศรีธรรมราช คาดว่าจะสามารถควบคุมอย่างได้ผลหากเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทุกคนให้ความร่วมมือปฏิบัติตามตามที่เราแนะนำไปได้ย่างเข้มข้นต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ.
แสดงความคิดเห็น