Akkhraratchakumari Veterinary College

งานวิจัยการดื้อยาของจุลชีพ (เชื้อโรค)ในสัตว์

            การดื้อยาของจุลชีพ (เชื้อโรค) เป็นปัญหาระดับโลก ที่เกิดจากจุลชีพ (ในที่นี้ คือ ไวรัส แบคทีเรีย และพยาธิ) ที่เกิดการพัฒนาความสามารถของตัวเองให้ทนทานต่อยาต้านจุลชีพที่คนใช้ (บางครั้งจะเรียกว่า ยาปฏิชีวนะ) ปัญหาที่ตามมาก็จะทำให้การรักษาโรคติดเชื้อไม่ได้ผล ปัจจุบันสถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพในโลกและในประเทศไทยมีแนวโน้มแย่ลงเรื่อยๆ พบว่ามีจำนวนเชื้อจุลชีพดื้อยาเพิ่มมากขึ้นโดยที่การค้นคว้าวิจัยยาต้านจุลชีพ หรือยาปฏิชีวนะตัวใหม่เพื่อแก้ปัญหาเชื้อดื้อยานั้นไม่เพียงพอและไม่ทันต่อความต้องการ ทำให้การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาทำได้ยาก เกิดค่าใช้จ่ายสูง เกิดพิษและผลข้างเคียงมาก และก่อให้เกิดการเสียชีวิต สาเหตุที่เชื้อโรคดื้อยานั้น ต้องบอกว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ เกิดจากการวิวัฒนาของจุลชีพเพื่อความอยู่รอดของตัวมันเอง ตัวที่รอดจากยาต้านเชื้อมีการสร้างยีนขึ้นมาใหม่เรียกว่า “ยีนดื้อยา” ที่สำคัญคือการวิวัฒนาการการดื้อยานั้นจะถูกเร่งให้เกิดขึ้นเร็วขึ้นหากมีการใช้ยามากเกินไป ดังนั้นการเลือกใช้ยาต้านจุลชีพอย่างถูกต้อง ในขนาดและเวลาที่เหมาะสมจึงเป็นการลดโอกาสการดื้อยาของเชื้อได้ การศึกษาการดื้อยาต้านจุลชีพในสัตว์ ส่วนใหญ่จะเน้นในปศุสัตว์เพราะมีปริมาณการเลี้ยงเยอะมีใช้ยาต้านจุลชีพเยอะและสามารถถ่ายทอดเชื้อโรคผ่านผลิตภัณฑ์ได้ นอกจากนี้ก็จะมีการศึกษาการดื้อยาค่อนข้างเยอะในสัตว์เลี้ยงเช่น สุนัข แมว เพราะเป็นสัตว์ที่ใกล้ชิดกับคนและมีการใช้ยาที่ใกล้เคียงกับคน อย่างไรก็ดีก็ยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่ นักวิจัยมักมองข้ามไป เช่น สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ที่ใช้ในการกีฬา สัตว์ที่ใช้ในการท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของการดื้อยาได้เหมือนกัน การลดปัญหาการดื้อยาในสัตว์ ก็คือ การลดการใช้ยาปฏิชีวนะและยาต้านเชื้ออื่นๆโดยเฉพาะที่ใช้ในคนโดยใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดย อาจมีการให้สิ่งอื่นทดแทน เช่น การให้สัตว์กิน probiotic หรือกินจุลชีพที่ดีเข้าไปในลำไส้ก็เป็นการควบคุมเชื้อโรค จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า จุลชีพที่ดีในลำไส้ ส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง มีผลผลิตที่ดี นอกจากนี้ควรมีการส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทย เป็นทางเลือกแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะการใช้สมุนไพรในอาหารสัตว์ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจด้วย การแก้ปัญหาการดื้อยาของจุลชีพนั้นต้องใช้ความร่วมมือจากหลากหลายวิชาชีพ รวมถึงการให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างถูกต้องและทั่วถึง ที่วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์วลัยลักษณ์ อาจารย์และนักวิจัยของเราได้เข้าร่วมทำวิจัยเพื่อต่อสู้กับการดื้อยาต้านจุลชีพในสัตว์หลากหลายชนิด เพราะหากเกิดการดื้อยาจุลชีพในสัตว์ก็จะส่งผลให้เกิดการดื้อยาของจุลชีพในคนได้ เพราะในร่างกายของคนและสัตว์นั้นมีแบคทีเรียหลายชนิดที่เหมือนกัน และมีการติดเชื้อโรคที่คล้ายกันได้

     นักวิจัยเกี่ยวกับเชื้อดื้อยาของเราด้ที่

  • ศ.คลินิก ดร.น.สพ.สุวิชัย โรจนเสถียร
  • รศ.สพ.ญ.ดร.สุมาลี บุญมา
  • ผศ.น.สพ.ดร.เติมพงศ์ วงศ์ตะวัน
  • ผศ.ดร.สพ.ญ.งามจิตต์ จงกิจถาวร
  • อ. น.สพ.ดร.ทศพล ธำรงสุวรรณกิจ
  • ผศ.น.สพ.ดร.ชัยวัฒน์ บุญแก้ววรรณ

     ผลงานตีพิมพ์เกี่ยวกับการดื้อยาของอาจารย์

แสดงความคิดเห็น