Akkhraratchakumari Veterinary College

งานวิจัยเพื่อเพิ่มจำนวนลูกสัตว์เพศเมียในวัวนมและสุกร

          ในสุกรและวัวนมนั้น หากลูกที่เกิดมาเป็นตัวเมียจะมีมูลค่าสูงกว่าตัวผู้ เพราะว่าวัวตัวเมียเท่านั้นที่จะผลิตน้ำนมให้เราได้ ในขณะที่ในธุรกิจการเลี้ยงหมูนั้นจะต้องการเลี้ยงเพศเมียมากกว่าเพราะสามารถให้ลูกได้ นอกจากนี้เนื้อหมูจากเพศเมียจะมีกลิ่นน้อยกว่าตัวผู้ด้วย ถึงแม้เกษตรกร จะอยากได้ลูกสัตว์เพศเมียมากแค่ไหน แต่ส่วนใหญ่ก็จะได้ลูกตัวเมียพอๆกับลูกตัวผู้ทุกครั้ง เพราะตามธรรมชาติแล้วโอกาสจะได้ลูกตัวผู้หรือตัวเมียอยู่ที่ 50% การกำหนดเพศของสัตว์น้ำนมนั้นอยู่ที่ตัวอสุจิของตัวผู้ ตัวผู้จะผลิตอสุจิออกมาสองชนิด คือ อสุจิเอ็กซึ่งเมื่อไปผสมกับไข่แล้วก็จะเป็นตัวเมีย กับอสุจิวายซึ่งจะกลายเป็นตัวผู้หลังจากไปผสมกับไข่แล้ว ดังนั้นหากว่าเราสามารถแยกอสุจิสองชนิดออกจากกันได้ก็จะทำให้เราสามารถกำหนดเพศลูกสัตว์ที่ต้องการได้ ในวัวนั้นน้ำเชื้อแยกเพศสามารถผลิตได้แล้วและมีการนำมาขายทั่วโลกโดยบริษัทในต่างประเทศโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัยแต่ราคาแพง แต่ปัญหาคือเครื่องมือเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย น้ำเชื้อวัวที่แยกเพศได้ก็ไม่ใช่วัวไทยซึ่งเป็นวัวที่ทนโรค ทำให้ประเทศไทยขาดโอกาสในการใช้น้ำเชื้อแยกเพศของวัวในประเทศ ต้องพึ่งพาต่างประเทศ ส่วนในแวดวงสุกรนั้นโชคไม่ดี น้ำเชื้อแยกเพศไม่มีขาย เพราะไม่เหมาะที่จะแยกเพศด้วยวิธีเดียวกับในวัวนม ที่วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์ อัครราชกุมารี ม วลัยลักษณ์ นักวิจัยของเรา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาของเกษตรกร จึงได้เร่งทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคนิคเพื่อใช้ในการแยกเพศวัวนมและสุกร โดยในวัวนั้นสามารถแยกเพศในห้องทดลองได้แล้วและตอนนี้กำลังพัฒนาเทคนิคเพื่อใช้ในฟาร์ม ส่วนการแยกเพศอสุจิในสุกรนั้นนักวิจัยของเราได้ประสบความสำเร็จในการเพิ่มจำนวนลูกสุกรเพศเมียจากการผสมเทียมด้วยน้ำยาชนิดพิเศษ ทำให้มีลูกสุกรเพศเมียเพิ่มขึ้นถึง 30% ในฟาร์ม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเจ้าของฟาร์มและเกษตรกร


นักวิจัย
ผศ.น.สพ.ดร.เติมพงศ์ วงศ์ตะวัน

ผลงานวิจัยที่เผยแพร่
แสดงความคิดเห็น