Akkhraratchakumari Veterinary College
SDGLogo

วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี

WALAILAK UNIVERSITY

SDG-2: Zero Hunger (ขจัดความหิวโหย)

ขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร ปรับปรุงโภชนาการ และสนับสนุนการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน (End Hinger, achieve food security and improved nutrition and promote sustainable agriculture)

SDG2
SDG2

Metric 2.4.1 : Percentage of agriculture area under sustainable agriculture practices)

โครงการผลิตปุ๋ยไส้เดือนเพื่อการปรับปรุงคุณภาพดิน

วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี มีแนวการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาสัตวแพทย์แบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การเวชศาสตร์การป้องกันโรค ดูแลสุขภาพทั่วไป การรักษาโรค และการชันสูตรซาก เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ความชำนาญในศาสตร์ของการดูแลสุขภาพสัตว์ซึ่งประกอบไปด้วยการได้รับน้ำและอาหารที่เหมาะสมตรงตามชนิดสัตว์และการลดการใช้สารเคมี ทางวิทยาลัยฯจึงมีโครงการผลิตปุ๋ยไส้เดือนซึ่งเป็นการนำเอามูลสัตว์ชนิดต่างๆมาผ่านกระบวนใช้ประโยชน์เป็นอาหารไส้เดือนแล้วนำเอามูลไส้เดือนกลับมาเป็นปุ๋ยไส้เดือนเพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณภาพดินอีกที

จากระยะเวลาในการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถผลิตปุ๋ยไส้เดือนที่นำมาปรับปรุงคุณภาพดินได้เป็นอย่างดีและสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยในการปรับปรุงดินเพื่อการปลูกพืชชนิดต่างๆรวมถึงแปลงปลูกหญ้าเพื่อเป็นพืชอาหารสัตว์โดยไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี อันเป็นการลดการใช้สารเคมีในระบบการผลิตพืชอาหารสัตว์ซี่งจะมีผลดีโดยตรงต่อปศุสัตว์ที่เป็นแหล่งอาหารสำหรับมนุษย์ต่อไป

Metric 2.5.1 : Ex situ crop collection Enrichment index

โครงการ Ex situ Animal Genome Resource Bank

วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี ได้มีแผนการดำเนินการในการจัดทำโครงการ Animal Genome Resource Bank เพื่อเป็นธนาคารพันธุกรรมทั้งในสัตว์เลี้ยง สัตว์ปศุสัตว์ และสัตว์ป่า โดยได้เริ่มต้นในการเก็บรักษาตัวอย่างจากสัตว์ที่เข้ามารับบริการในส่วนของโรงพยาบาลของวิทยาลัยฯ รวมถึงได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านสัตว์ป่ากับทางสวนสัตว์ท่าลาดและสวนสัตว์สงขลา โดยจัดให้โครงการ Animal Genome resource Bank เป็นส่วนหนึ่งที่จะดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความมือฉบับนี้ อันจะกลายเป็นฐานข้อมูลด้านพันธุกรรมที่สำคัญของสัตว์เลี้ยง สัตว์ปศุสัตว์ และสัตว์ป่าในภาคใต้ของไทย  ซึ่งจะยังประโยชน์ในการศึกษาวิจัยถึงความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงสามารถก่อให้เกิดความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงานที่สนใจในการศึกษาด้านทรัพยากรธรรมชาตินอกถิ่นอาศัย (Ex situ) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

SDG2
SDG2

 โดยเริ่มมีการศึกษาวิจัยด้านความหลากหลายทางพันธุกรรมของกระบือปลักในประเทศไทยร่วมกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ร่วมถึงได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จำนวน 100,000 บาท และการศึกษาถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมของนางอายในประเทศไทย อีกทั้งยังมีภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมโครงการนี้ทั้งในส่วนของสวนสัตว์และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนการจัดตั้งธนาคารพันธุกรรมของสัตว์นอกถิ่นอาศัย (Ex situ Animal Genome resource Bank)

SDG2

Metric 2.b.2 : Ex situ crop collection Enrichment index

โครงการตรวจสารต้องห้ามในการส่งออกรังนกแอ่น

วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี ได้ดำเนินการวางแผนศึกษาวิจัยนกแอ่นกินรังที่เป็นหนึ่งในธุรกิจที่สำคัญของภาคใต้ โดยในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ทางทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจนกแอ่นกินรัง โดยได้ทำการศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์ถึงการดำเนินธุรกิจและแผนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกรังนกแอ่นไปยังต่างประเทศ อย่างไรก็ดี พบว่าปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายภาครัฐที่ยังไม่มีระเบียบการรองรับการเลี้ยงนกแอ่นกินรังที่ชัดเจนและปัญหาการขาดแคลนห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบคุณภาพของนกแอ่นกินรังก่อนส่งออก ดังนั้นทางวิทยาสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี จึงได้มีการวางแผนพัฒนาห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ [มาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005] และสามารถออกใบรับรอง ตามข้อกำหนดของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่อง มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ. 6705-2557) ของรังนกแอ่นเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยกำหนดให้รังนกที่จะส่งออกจำเป็นต้องตรวจหาสารต้องห้าม อันได้แก่

ไนไตรต์ (Nitrite) ต้องไม่เกิน 30 mg/kg
ใช้วิธี Flow analysis -Spectrometric Detection; ISO 13395:1996
Escherichia coli ไม่เกิน 100 cfu/g
ใช้วิธี Conventional Plate Count Method; ISO 4832:2006
Bacillus cereus ไม่เกิน 1,000 cfu/g
ใช้วิธี Conventional Plate Count Method; ISO 4832:2006
Staphylococcus aureus ไม่เกิน 1,000 cfu/g
ใช้วิธี Conventional Plate Count Method; ISO 4832:2006
เชื้อรา ไม่เกิน 1,000 cfu/g
ใช้วิธี Conventional Plate Count Method; ISO 4832:2006
ปริมาณความชื้น ไม่เกิน 15% โดยน้ำหนัก
ใช้วิธี Gravimetry; AOAC 931.04

กิจกรรมวิทยาลัยฯ

ลงพื้นที่ก็บตัวอย่างตรวจโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน

ประชุมสัมมนา “รู้เท่าทันโรค ฝ่าวิกฤติ โรคอหิวาห์แอฟริกาในสุกร”

SDG2

ทีมวิจัยเฮ! ได้รับทุนเพิ่มมูลค่าไก่ลิกอร์ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ