Akkhraratchakumari Veterinary College
SDGLogo

วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี

WALAILAK UNIVERSITY

SDG-15: Protect, restore and promote sustainable use of terrestrial ecosystem, sustainably manage forests, combat desertification, and halt and reverse land degradation and halt biodiversity loss. (ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน การต่อต้านการแหปรสภาพเป็นทะเลทราย หยุดกยั้งการเสื่อมโทรมของดินและฟื้นฟูสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ)

SDG15
SDG15

Metric 15.7.2 : Proportion of detected trade in wildlife and wildlife production that is illegal

โครงการส่งเสริมมาตรฐานสวนสัตว์สาธารณะ

วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี ได้มีแนวทางในการป้องกันการค้าสัตว์ป่าและสินค้าจากสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมผลักดันในการนำเอามาตรฐานสวนสัตว์สาธารณะมาใช้ในการพัฒนาสวนสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้มีการควบคุมดูแลและป้องกันการค้าสัตว์ป่า โดยเน้นการให้ความรู้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดการสวนสัตว์ ประชาชนที่เข้าชมส่วนสัตว์ โดยเฉพาะอย่างเยาวชนรุ่นใหม่ จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านสัตว์ป่าระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินการโดยวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารีกับทางสวนสัตว์ท่าลาดซึ่งเป็นสวนสัตว์ที่อยู่ในการดูแลของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยได้มีแผนในการดำเนินการภายใต้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเน้นการพัฒนาสวนสัตว์ท่าลาด ดังนี้  

1) ผลักดันให้พัฒนาเป็นสวนสัตว์สาธารณะที่ถูกต้องตามมาตรฐานสวนสัตว์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
2) อบรมให้ความรู้กับทางเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ในการดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะที่ถูกต้อง
3) พัฒนาและดำเนินการดูแลสุขภาพสัตว์สวนสัตว์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและธรรมชาติของสัตว์ป่าแต่ละชนิด
4) สนับสนุนงานการถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชนและประชาชนที่สนใจเพื่อป้องกันการค้าสัตว์ป่าและสินค้าจากสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย

Metric 15.7.2 : Proportion of detected trade in wildlife and wildlife production that is illegal

โครงการช่วยเหลือและฟื้นฟู Sunda pangolin คืนสู่ธรรมชาติ

วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี มีแผนการดำเนินโครงการช่วยเหลือและฟื้นฟูตัวนิ่มหรือลิ่น  (Sunda pangolin) ซึ่งเป็นสัตว์ป่าหายากและมีการค้าอย่างผิดกฎหมายในหลายประเทศ จากผลการประชุมของ Proceedings of the workshop on the trade and conservation of pangolins native to South and Southeast Asia ในปี 2009 รายงานว่า มีการค้าขาย Sunda pangolin อย่างผิดกฎหมายเป็นจำนวนมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีการประมาณการตัวเลขจาก tirto.id ว่ามีจำนวนตัวนิ่มหรือลิ่นทุกชนิดที่มีการค้าอย่างผิดกฎหมายทั่วโลกไม่น้อยกว่า 192,567 ตัวในช่วงปี 1999 จนถึง 2017 จากกรณีดังกล่าวนี้ทางวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครรราชกุมารีจึงได้ผลักดันให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อการช่วยเหลือและฟื้นฟู Sunda pangolin เพื่อนำกลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาวิจัยและตีพิมพ์ผลงานการศึกษาค่าโลหิตวิทยาและชีวเคมีใน Sunda pangolin (Hematology and biochemistry reference intervals and blood cell morphometrics of confiscated Sunda pangolin (Manis javanica) in Thailand ) เพื่อประโยชน์ในการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินสภาพลิ่นที่เป็นสัตว์ป่าของกลางและสามารถฟื้นฟูสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงมีแผนในการจัดหาสถานที่ในการรองรับลิ่นที่เป็นสัตว์ป่าของกลางในการช่วยภาครัฐฟื้นฟูสุขภาพและศึกษาชีววิทยาที่เกี่ยวข้องอันจะเป็นประโยชน์ในการคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

SDG15
SDG15