SDGLogo

Akkhraratchakumari Veterinary College

WALAILAK UNIVERSITY

SDG-15: Protect, restore and promote sustainable use of terrestrial ecosystem, sustainably manage forests, combat desertification, and halt and reverse land degradation and halt biodiversity loss.

SDG15
SDG15

Metric 15.7.2 : Proportion of detected trade in wildlife and wildlife production that is illegal

โครงการส่งเสริมมาตรฐานสวนสัตว์สาธารณะ

วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี ได้มีแนวทางในการป้องกันการค้าสัตว์ป่าและสินค้าจากสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย โดยการเข้าไปมีส่วนร่วมผลักดันในการนำเอามาตรฐานสวนสัตว์สาธารณะมาใช้ในการพัฒนาสวนสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้มีการควบคุมดูแลและป้องกันการค้าสัตว์ป่า โดยเน้นการให้ความรู้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดการสวนสัตว์ ประชาชนที่เข้าชมส่วนสัตว์ โดยเฉพาะอย่างเยาวชนรุ่นใหม่ จากวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านสัตว์ป่าระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินการโดยวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารีกับทางสวนสัตว์ท่าลาดซึ่งเป็นสวนสัตว์ที่อยู่ในการดูแลของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยได้มีแผนในการดำเนินการภายใต้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเน้นการพัฒนาสวนสัตว์ท่าลาด ดังนี้  

1) ผลักดันให้พัฒนาเป็นสวนสัตว์สาธารณะที่ถูกต้องตามมาตรฐานสวนสัตว์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
2) อบรมให้ความรู้กับทางเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ในการดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะที่ถูกต้อง
3) พัฒนาและดำเนินการดูแลสุขภาพสัตว์สวนสัตว์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและธรรมชาติของสัตว์ป่าแต่ละชนิด
4) สนับสนุนงานการถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชนและประชาชนที่สนใจเพื่อป้องกันการค้าสัตว์ป่าและสินค้าจากสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย

Metric 15.7.2 : Proportion of detected trade in wildlife and wildlife production that is illegal

โครงการช่วยเหลือและฟื้นฟู Sunda pangolin คืนสู่ธรรมชาติ

วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี มีแผนการดำเนินโครงการช่วยเหลือและฟื้นฟูตัวนิ่มหรือลิ่น  (Sunda pangolin) ซึ่งเป็นสัตว์ป่าหายากและมีการค้าอย่างผิดกฎหมายในหลายประเทศ จากผลการประชุมของ Proceedings of the workshop on the trade and conservation of pangolins native to South and Southeast Asia ในปี 2009 รายงานว่า มีการค้าขาย Sunda pangolin อย่างผิดกฎหมายเป็นจำนวนมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีการประมาณการตัวเลขจาก tirto.id ว่ามีจำนวนตัวนิ่มหรือลิ่นทุกชนิดที่มีการค้าอย่างผิดกฎหมายทั่วโลกไม่น้อยกว่า 192,567 ตัวในช่วงปี 1999 จนถึง 2017 จากกรณีดังกล่าวนี้ทางวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครรราชกุมารีจึงได้ผลักดันให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อการช่วยเหลือและฟื้นฟู Sunda pangolin เพื่อนำกลับคืนสู่ธรรมชาติ โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาวิจัยและตีพิมพ์ผลงานการศึกษาค่าโลหิตวิทยาและชีวเคมีใน Sunda pangolin (Hematology and biochemistry reference intervals and blood cell morphometrics of confiscated Sunda pangolin (Manis javanica) in Thailand ) เพื่อประโยชน์ในการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินสภาพลิ่นที่เป็นสัตว์ป่าของกลางและสามารถฟื้นฟูสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงมีแผนในการจัดหาสถานที่ในการรองรับลิ่นที่เป็นสัตว์ป่าของกลางในการช่วยภาครัฐฟื้นฟูสุขภาพและศึกษาชีววิทยาที่เกี่ยวข้องอันจะเป็นประโยชน์ในการคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

SDG15
SDG15